เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยโครงงาน"Food of the world"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก
- คิดค้นสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวอาหารในชุมชนของตนเองได้
- มีแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง/สังคม อย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่า

Assessment


มหัศจรรย์น้ำกับชีวิต


ข้อดีของการทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่
ครู
นักเรียน
- คุณครูมีเวลาในการวางแผนหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมล่วงหน้า




- คุณครูได้เรียนรู้เรื่องที่ไม่เคยรู้ไปพร้อมกับนักเรียน เช่น การทำเครื่องกรองน้ำ การทดลองปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม






- ภาระงานเอกสาร (การเขียนแผนการจัดกิจกรรม) ไม่ยุ่งยากมากทำให้คุณครูมีเวลาในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้
- จากหน่วยการเรียนรู้ที่คุณครูวางแผนไว้นักเรียนได้รับประโยชน์ที่จำเป็นและสำคัญในการดำรงชีวิต เช่น รู้จักวิธีตรวจสอบเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นในการใช้น้ำ

- นักเรียนได้ปะทะกับปัญหาจริงด้วยการลงมือปฏิบัติ สังเกต ด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ความคุ้มทุน คุ้มค่าในการจัดหาอุปกรณ์มาทำเสื้อชูชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ในการทำงานและรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในการแก้ปัญหาภัยแล้ง

- นักเรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะชีวิตจากการลงมือคิด ทำนวัตกรรมของตนเอง ทักษะการแก้ปัญหาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้






ปัญหา/อุปสรรคที่พบ
ครู
นักเรียน
- ปัญหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่คุณครูวางแผนไว้มีเยอะระยะเวลาในการเรียนรู้ไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา


- พัฒนาการการเรียนรู้ของพี่ป.2 แต่ละคนมีความแตกต่างกัน คุณครูต้องใช้เวลากับนักเรียนส่วนหนึ่งในการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจทำให้ใช้เวลาในการทำงานนาน

- ภาระงานด้านการประเมินเยอะมากขึ้นครูไม่สามารถประเมินได้ทันทีหลังจากที่ชิ้นงานเสร็จ

- การประเมินต้องใช้วิจารณญาณมากในการให้คะแนน เพราะยากในการจับ Out come กับตัวชี้วัดของแต่ละวิชา

- หน่วยการเรียนรู้ไม่ได้มาจากความชอบ/สนใจ ของนักเรียนแต่ละคนจริงๆ ทำให้บางช่วงเวลานักเรียนไม่รู้สึกร่วมกับปัญหานั้นจริง


- ในช่วงวัยของนักเรียนความสนใจในเรื่องต่างๆอาจมีระยะเวลาไม่นานหากทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินสองสัปดาห์ทำให้เด็กๆรู้สึกเบื่อได้



- ชิ้นงานไม่เป็นรูปเป็นร่างที่ทนทานแข็งแรงเนื่องจากทักษะการทำงานของเด็กๆ เช่น การใช้กรรไกร การเย็บ การประกอบชิ้นงาน ยังต้องอาศัยการเจริญเติบโตของช่วง







ครูก้อย ได้ฝากความคิดเห็นไว้ที่บทความของคุณ "week11": เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของสัปดาห์ที่ 11 แล้วค่ะ แต่สัปดาห์นี้เรามีเวลาเพียงแค่ 3 วัน ในการสรุปองค์ความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา จากการหยุดยาวเนื่องในวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชา ทำให้พี่ป.2 เกือบครึ่งห้องไม่ได้มาโรงเรียนในวันเปิดทำการวันแรกของสัปดาห์ที่ 11 ทำให้มีแค่บางส่วนที่ได้ช่วยกันแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้หลังการเรียนรู้โครงงาน “มหัศจรรย์น้ำกับชีวิต” บวกกับงานเก่าที่ยังไม่สมบูรณ์ของโครงงานและวิชาอื่นๆที่ต้องจัดการให้เรียบร้อยในสัปดาห์นี้ทำให้พี่ๆป.2 ไม่ได้เตรียมงานเปิดบ้านให้พี่ๆน้องๆเข้ามาเยี่ยมชมการสรุปองค์ความรู้ ส่วนที่ไม่ได้มาโรงเรียนคุณครูไม่ได้ปล่อยให้ผ่านเลยไปแต่คุณครูช่วยให้พี่ๆได้สรุปองค์ความรู้ร่วมกันอีกครั้งด้วยการทบทวนและใช้เครื่องมือคิดBlackboard Shareและจิ๊กซอร์เพื่อเพิ่มเติม Mind mapping หลังการเรียนรู้ ส่วนงานอื่นก็ให้ทำเป็นการบ้านและมานำเสนอต่อครูในชั่วโมงหน้า จึงทำให้ทุกคนสามารถตามงานได้พร้อมกัน พี่ๆป.2 ใช้เวลาทุกวินาทีอย่างคุ้มค่าในการทำงาน หลังจากทำMind mapping หลังการเรียนรู้เสร็จเด็กๆก็เขียนสิ่งที่ดีแล้ว ใน week11





ภาณุวัฒน์ บุญเย็น


ใน 9/3/2014






ความคิดเห็นนี้ถูกนำออกโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก ใน week11





ครูก้อย


ใน 30/7/2013






จากสัปดาห์ที่ผ่านมาเด็กๆได้ช่วยจัดหมวดหมู่คำถามของตนเองและคุณครูช่วยแนะนำได้มาซึ่งหมวดหมู่ของคำถามดังนี้ 1. มลพิษทางน้ำ 2.ปัญหาภัยแล้ง 3.วัฎจักรของน้ำ 4.น้ำในอนาคต 5.ลักษณะภูมิประเทศ (พื้นที่ที่มีฝนตกชุกและพื้นที่แห้งแล้ง) 6.น้ำในร่างกาย จากการที่คุณครูพาเด็กๆเข้าห้องสมุดและเห็นชิ้นงานนิทานของรุ่นพี่จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากจะแต่งนิทานคุณครูจึงให้เด็กๆได้เลือกหัวข้อจากคำถามที่ตนสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมและแต่งนิทานตามความสนใจของใครของเรา ซึ่งทุกคนก็พยายามอย่างเต็มที่ให้ชิ้นงานของตนออกมาอย่างเต็มศักยภาพ คุณครูก็เห็นว่าหลายชิ้นงานของพี่ๆยังต้องเพิ่มเติม พี่ป.2 ก็ช่วยเพิ่มข้อเสนอแนะต่อเติมชิ้นงานของกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในสัปดาห์นี้ก็ได้เน้นทักษะของการคิดสร้างสรรค์ การให้เหตุผลและการสื่อสารค่อนข้างมาก ทุกคนได้ชื่นชมผลงานและฝึกการวิจารณ์ผลงานด้วยความสร้างสรรค์ การทำงานของเด็กๆในวัยนี้คุณครูต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะต้องพัฒนาทักษะด้านการอ่านและเขียนค่อนข้างมาก เด็กๆต้องฝึกการแต่งเรื่องพอสมควร ใน week10





ครูก้อย


ใน 30/7/2013






ชั่วโมงแรกของสัปดาห์ที่ 9 พี่ๆ ป.2 ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิทานช่องสรุปประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ที่ต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ที่ 8 พี่ๆป. 2 หลายคนยังต้องฝึกทักษะทางด้านศิลปะเมื่อเด็กๆได้ชื่นชมและเสนอแนะผลงานของกันและกันต่างคนก็เพิ่มเติมชิ้นงานของตนและนำเสนองานได้อย่างน่าสนใจ ชั่วโมงต่อมาก็ได้เข้าสู่เนื้อหาที่วางแผนไว้ในสัปดาห์นี้โดยเด็กๆร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้น้ำของมนุษย์ในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่ออนาคตข้างหน้าอย่างไรโดยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น “หนูเห็นคนชอบใช้น้ำเยอะต่อไปน้ำอาจจะหมดโลกได้ค่ะ / คนชอบทิ้งขยะลงแม่น้ำทำให้น้ำเน่าปลาตายเราอาจจะไม่มีปลาไว้กินก็ได้ครับ” พอพี่ๆป.2 เริ่มเชื่อมโยงความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำ/ธรรมชาติของมนุษย์ในปัจจุบันได้ แต่ละคนก็ได้คิดคำขวัญหรือป้ายรณรงค์การใช้น้ำให้เตือนใจผู้ที่พบเห็นได้ตระหนักไม่มากก็น้อยจากใจพี่ๆป.2 จากนั้นคุณครูก็กระตุ้นความกระหายใคร่รู้ของเด็กๆต่อด้วยการดูคลิปทรัพยากรน้ำ “ทุกคนต่างตกตะลึงถึงสิ่งที่พบในคลิป เช่น บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำมากถึงต้องกรอกน้ำสกปรกไปใช้ในการอุปโภคบริโภค ใน week9





ครูก้อย


ใน 30/7/2013






ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 7 หลังจากที่เด็กๆได้ระดมความคิดและช่วยกันแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำน้ำสะอาดจากน้ำสกปรกเป็นชิ้นงาน 1 ชิ้น โดยพี่ป.2 ช่วยกันทำ เนื่องจากทักษะการสื่อสารของพี่ ป.2 ทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อน จากที่ช่วยกันวางแผนว่าจะทำให้เครื่องกรองน้ำมีชิ้นใหญ่แต่พอถึงวันทำงานมีเพียงอุปกรณ์ที่น้อยนิดไม่เพียงพอต่องานที่วางแผนไว้ คือ อุปกรณ์ที่เตรียมมา ขวดน้ำมีขนาดเล็ก ถ่าน ทราย และหิน มีปริมาณน้อย เด็กๆเข้าใจเพียงแค่ตัวเองต้องเตรียมอะไรมาแต่หน้าที่ในการทำงานคุณครูต้องคอยช่วยให้คำแนะนำว่าใครจะอาสาทำอะไร เช่น ร่อนทราย บดถ่าน เตรียมหิน และเตรียมโครงของเครื่องกรองน้ำ การแบ่งหน้าที่และทุกคนเข้าใจตรงกันใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมงทุกคนจึงได้แยกย้ายกันทำงาน กลุ่มบดถ่าน อยากได้ถ่านที่ละเอียดแต่บดอย่างไรก็ยังเป็นก้อนชิ้นเล็กชิ้นน้อย หาวิธีการแก้ไขปัญหาช่วยกันเป็นการใหญ่ จากทุบถ่านในถุงพลาสติก ถุงแตกทุบยากถ่านกระจัดกระจาย ลองเปลี่ยนเป็นทุบทีละก้อนเอากระดาษรองก็ยังไม่ได้ถ่านที่ละเอียด นักเรียนคนหนึ่งจึงวิ่งมาถามคุณครูว่า “ครูครับใช้ผ้าห่อแล้วทุบได้ไหมครับผ้าจะได้ไม่แตกเหมือนถุง” ในweek8





ครูก้อย


ใน 7/7/2013






แนะนำกิจกรรมเพิ่มเติม (บูรณากาpblรรวมในดนตรีได้) จะสร้างเสียงดนตรีจากขวดน้ำได้อย่างไร น้ำและเสียงสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมเวลาเคาะขวดน้ำจึงให้โทนเสียงและความรู้สึกที่แตกต่างกัน?ถ้าเด็กๆ ได้ทดลองน่าจะสนุกนะคะ ใน week8





ครูยิ้ม


ใน 3/7/2013






ในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 6 หลังจากที่รอคอยกันมาหลายวัน เด็กๆตื่นเต้นที่จะได้ทำน้ำสกปรกกลายเป็นน้ำสะอาด โดยแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนเตรียมอุปกรณ์มาในสัปดาห์นี้ แต่เกิดปัญหาคือ มีนักเรียนลาป่วย 3 คน ทำให้สมาชิกในกลุ่มไม่มีอุปกรณ์ตามที่วางแผนกันไว้ เด็กๆจึงปรึกษากันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร สรุปคือ กลุ่มที่สมาชิกไม่มา กระจายเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนที่มีอุปกรณ์ครบแต่เตรียมอุปกรณ์มาไม่เพียงพอ จากนั้นจึงได้เริ่มทำเครื่องมือทำน้ำสะอาดตามที่กำหนดไว้ การทำชิ้นงานในวันแรกแต่ละกลุ่มยังไม่เข้าร่องเข้ารอยเท่าที่ควร ภาชนะที่ใส่น้ำเป็นขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็กชิ้นงานไม่มีความแข็งแรง รูปร่างของชิ้นงานก็ยังไม่ได้สัดส่วน เติมวัสดุที่จะกรองน้ำลงไปน้ำก็ยังไม่ใส วันต่อมาแต่ละกลุ่มจึงระดมความคิดแก้ไขปัญหา เตรียมอุปกรณ์มาเพิ่ม บางกลุ่มทดลองวางชั้นสำลีอย่างเดียวสามารถกรองตะกอนได้แต่น้ำยังขุ่น จึงเพิ่มทรายลงไปเพราะมองภาพเชื่อมโยงทรายกับทะเล ที่น้ำทะเลใสน่าจะนำทรายมาเป็นตัวกรองให้ตะกอนในน้ำตกลงมายังชั้นของทรายก่อนได้ ใน week7





ครูก้อย


ใน 30/6/2013






ในชั่วโมงแรกของPBL คุณครูได้พาเด็ก ๆไปตามรอยน้ำที่ใช้แล้วไปอยู่ที่ไหน เริ่มต้นจากท่อระบายน้ำที่โรงอาหาร เด็กๆถามคุณครูว่า “เราใช้น้ำล้างจานเยอะมาก ใช้แล้วก็ต้องเททิ้งน่าเสียดายจังเลย แล้วเขาจะไหลไปอยู่ที่ไหนคะ” เมื่อเด็กๆเห็นท่อระบายน้ำจึงตามไปเรื่องๆ ระหว่างทางก็สำรวจไปด้วยว่าน้ำทิ้งมาจากที่ไหนบ้าง หลายคนเห็นว่ามาจากห้องน้ำ มาจากการซักผ้า ล้างจาน ส่วนใหญ่เราใช้ในชีวิตประจำวันของเรา “เมื่อตามไปเรื่อยๆ คุณครูก็พาเด็กๆมาหยุดอยู่ตรงท่อพักน้ำทิ้งที่มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมลึกลงและมีท่อส่งน้ำบริเวรปากท่อพักน้ำทิ้ง เด็กนักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “ครูครับท่อลึกมากไหมครับ” ครูจึงตอบว่า “เด็กๆจะรู้ได้อย่างไรว่าท่อนี้มีความลึกแค่ไหน” นักเรียนกลุ่มหนึ่งจึงหาไม้ที่มีความยาวมากมาจุ่มลงไปในท่อเพื่อวัดความลึก ทุกคนต่างระมัดระวังและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี และแล้วเสียงก็ดังขึ้น “ท่อลึกมากเลยครับครู” คุณครูจึงกระตุ้นด้วยคำถามต่อว่า “ทำไมจะต้องทำท่อให้มีลักษณะเช่นนี้” นักเรียนหญิงคนหนึ่งยกมือขึ้นตอบทันทีว่า “พอมีน้ำมามากๆน้ำก็จะไหลไปท่อส่งน้ำ ถ้าในน้ำมีเศษอาหาร เศษอาหารจะได้ตกไปอยู่ใต้บ่อ” ใน week6





ครูก้อย


ใน 24/6/2013






ในสัปดาห์ที่ 5 กิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆเริ่มต้นด้วยการที่คุณครูพาเด็กๆเข้าไปสู่วิกฤตการณ์ภัยแล้งซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวของเด็กๆทุกคน จากการดูคลิปวิกฤตภัยแล้งของคนอีสาน การอ่านข่าวพื้นที่ประสบภัยแล้งในจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างการดูคลิปนักเรียนหลายคนเกิดการตั้งคำถามว่า “ชาวบ้านที่ไม่มีน้ำกินเขาอยู่อย่างไรครับคุณครู/ทำไมแผ่นดินถึงแห้งแตกขนาดนั้น/เราจะหาปลากินจากที่ไหน” เด็กๆทุกคนต่างสะท้อนความรู้สึกเมื่อเห็นเหตุการณ์ภัยแล้งว่า “สงสารชาวบ้านอยากช่วยเหลือเขาจะทำอย่างไร” ครูจึงตั้งคำถามและเชื่อมโยงไปสู่การเกิดฝนตกลงมาได้อย่างไร และอะไรที่ทำให้ฝนไม่ตก เด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งบอกว่า “เพราะผู้คนทิ้งขยะไม่เป็นที่และเผาขยะควันไฟก็ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้อากาศร้อน” บางกลุ่มก็บอกว่า “คนตัดต้นไม้ทำให้ต้นไม้น้อยลง อากาศหายใจก็จะลดลงเพราะต้นไม้ให้ออกซิเจนกับเรา ถ้าไม่มีต้นไม้โลกก็จะร้อนขึ้นด้วย” ครูจึงกระตุ้นด้วยคำถาม “ที่โรงเรียนของเรากับที่บ้านของนักเรียนที่ไหนฝนตกบ่อยที่สุดเพราะเหตุใด” เมื่อได้ฟังคำถามหลายคนต่างยกมือแย่งกันตอบว่า “ที่โรงเรียนค่ะเพราะโรงเรียนเรามีต้นไม้เยอะ ใน week5





ครูก้อย


ใน 24/6/2013






สัปดาห์ที่ 4 หลังจากที่นักเรียนทำการทดลองอุปกรณ์ที่ช่วยให้ก้อนหินหนัก 2 กิโลกรัม ลอยในน้ำได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทุกคนต่างมีความคิดเห็นเดียวกันว่าขวดน้ำพลาสติกสามารถลอยได้ดีและเป็นของเหลือใช้ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย คุณครูจึงถามต่อว่า “นักเรียนสามารถนำขวดน้ำพลาสติกมาทำเป็นอะไรได้บ้างให้มนุษย์ใช้งานได้จริง” นักเรียนหลายคนเสนอว่า “ทำเป็นตัวเสื้อค่ะคุณครูจะได้ใช้งานได้ง่ายและไม่หลุดออกจากตัวด้วย / ทำเป็นแพได้ครับถ้าเรามีขวดน้ำเยอะๆก็เอามาต่อกันเป็นแพให้คนขึ้นไปลอยบนแพและช่วยลดขยะได้” คุณครูจึงแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 3 คน โดยสมาชิกในกลุ่มจะต้องไม่ซ้ำกันจากสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นเด็กๆก็ได้วางแผนงานและเตรียมอุปกรณ์มาในชั่วโมงที่จะถึง เมื่อถึงเวลาแต่ละกลุ่มก็ลงมือสร้างชิ้นงานของตน ทุกกลุ่มมีการเตรียมอุปกรณ์ที่อันตรายเช่น เข็ม กรรไกร และมีดคัตเตอร์ คุณครูจึงแนะนำวิธีการใช้และเก็บให้ปลอดภัย แต่เนื่องจากพี่ป.2 ยังขาดทักษะในด้านการตัดเย็บจึงทำให้แต่ละกลุ่มใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมง จึงทำให้ชิ้นงานแต่ละกลุ่มสมบูรณ์ เมื่อเวลาแห่งการทดลองมาถึง ใน week4





ครูก้อย


ใน 24/6/2013






ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 2 ในชั่วโมงแรกของสัปดาห์ที่ 3 นักเรียนได้ร่วมกันสร้างปฏิทินการเรียนรู้โครงงานมหัศจรรย์น้ำกับชีวิต โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม "เด็กๆอยากทำกิจกรรมอะไรเกี่ยวกับน้ำบ้าง" เด็กๆแต่ละคนต่างกระตือรือร้นยกมือแสดงความคิดเห็น เช่น "คุณครูคะหนูอยากทำเรือลอยน้ำ/ครูครับถ้าไม่มีน้ำปลาจะอยู่อย่างไรและคนจะอยู่อย่างไร/อยากทดลองเรื่องน้ำ/อยากมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา" เป็นต้น ทุกคนช่วยกันขมวดหัวข้อ ครูช่วยแนะนำเพิ่มเติมจากนั้นก็จับสลากเลือกคู่เพื่อทำปฏิทินการเรียนรู้ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่หลังจากครูและนักเรียนช่วยกันขมวดเนื้อหาที่จะเรียนแต่ละสัปดาห์ นักเรียนสามารถช่วยกันเรียงเนื้อหาได้ตรงตามที่ครูวางแผนไว้ ในสัปดาห์ที่ 3 นี้จึงได้เริ่มเข้าสู่เนื้อหาของการทำให้วัตถุลอยน้ำ โดย ก้อนหินที่มีน้ำหนัก 2 กิโลกรัม จะทำให้ลอยน้ำได้อย่างไรโดยใช้วัสดุที่เหลือใช้/มีอยู่ในโรงเรียนหรือชุมชน นักเรียนเลือกคู่เองและวางแผนคิดกันว่าจะมีอะไรที่ทำให้วัตถุลอยได้ แต่ละคนมีแนวคิดที่หลากหลายมาก เช่น นำกล่องนมมาเย็บติดกัน นำแก้วพลาสติกน้ำเหลือใช้มาอุดรูด้วยดินน้ำมันไม่ให้น้ำเข้า นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นเรือ ใน week3





ครูก้อย


ใน 2/6/2013






บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 2 ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 1 จากที่เด็กๆ ได้ทำ Mind mapping เพื่อเลือกหัวข้อ นักเรียนได้ทำชิ้นงานต่อจนเสร็จสมบูรณ์และนำเสนอหัวข้อของกลุ่มตน ผลคือ ทุกคนสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง น้ำ พอได้หัวข้อแล้วเด็ก ๆ ได้การบ้านกลับไปทำคือ ตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน พร้อมทั้งบอกเหตุผล เมื่อชั่วโมงเรียนมาถึงทุกคนต่างเสนอชื่อโครงงานบนกระดาน เช่น ดินแดนมหัศจรรย์แห่งน้ำ น้ำคือชีวิต สายน้ำแห่งชีวิต หมู่บ้านน้ำใสมหัศจรรย์ เป็นต้น ครูใช้เครื่องมือคิด Blackboard Share ให้ทุกคนช่วยกันขมวดหัวข้อช่วยกัน เวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที นักเรียนยังไม่สามารถหาชื่อโครงงานที่ทุกคนพึงพอใจไม่ได้ ครูจึงเปลี่ยนวิธีการเป็น Brainstorming ทุกคนช่วยกันคิดใช้เวลาประมาณ 5 นาที ได้ชื่อ “สายน้ำแห่งจักรพรรดิ” แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนบางกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับชื่อนี้ ครูจึงเปลี่ยนมาใช้วิธี Blackboard Share อีกครั้ง โดยครูเสนอคำว่า “น้ำกับชีวิต” สุ่มนักเรียนให้ความหมายกับคำนี้ จากนั้นนักเรียนเสนอขึ้นมาว่า “น่าจะเอาคำว่ามหัศจรรย์มาใส่ด้วยจะได้ดูยาวและมีความหมายมากขึ้น” ใน week2





ครูก้อย


ใน 26/5/2013






บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนเด็กๆต่างมีความกระตือรือร้น คุณครูก็ตื่นเต้นเนื่องจากเป็นนักเรียนชั้นใหม่ที่คุณครูยังไม่เคยสอนแบบเต็มรูปแบบ ในชั่วโมงแรก ครูก้อยได้เปิดคลิปการ์ตูน น้ำหยดสุดท้าย , การขาดแคลนน้ำของประชากรประเทศโซมาเลีย ทุกคนสนใจกับภาพและเสียงที่ได้เห็นพร้อมกับเกิดคำถามขึ้นมากมาย “ที่ไหนครับคุณครู/ทำไมเขาจึงเป็นแบบนี้/ทำไมเขาจึงไม่เกิดข้าว” คำถามเหล่านี้ครูก้อยยังไม่ตอบ แต่กระตุ้นด้วยคำถาม “แล้วเด็กๆรู้สึกอย่างไร คิดว่าเพราะอะไรเขาจึงต้องย้ายที่อยู่ / ถ้าเด็กๆตกอยู่ในสถานการณ์นั้น เด็กๆจะทำอย่างไร” ทุกคนต่างช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอยากมีส่วนร่วมในการตอบคำถามแต่ละคนต่างแย่งกันตอบ คุณครูจึงสร้างข้อตกลงร่วมกันโดยยกมือและครูเชิญก่อนแสดงความคิดเห็น ผ่านไป 2 วัน (4 ชั่วโมง) ครูก้อยคิดว่าน่าจะเข้าสู่กระบวนการเลือกหัวข้อ จึงให้เด็กช่วยกันเลือกหัวข้อโครงงานที่อยากเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share ในแผนการสอนครูก้อยคิดว่าใช้เวลาในการเลือกหัวข้อประมาณ 30 นาที น่าจะเพียงพอ แต่เนื่องจากทักษะทางด้านการเขียนของพี่ป.2 บางคน ในweek1





ครูก้อย


ใน 19/5/2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น